บริการด้านจดทะเบียนกรมสรรพากร

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(Value Added Tax) 
กิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ผู้ประกอบการฯ ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่    ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกิน 1,800,000บาทต่อปี ผู้ประกอบการซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริกา ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ก่อสร้างโรงงาน ติดตั้งเครื่องจักร (ประกาศฉบับ 159)

 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม(Value Added Tax หรือใช้ตัวย่อว่า VAT)  

คือภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิตสินค้าหรือบริการ และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆโดยผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่เก็บจากลูกค้า  แล้วนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปชำระให้แก่รัฐบาล 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม  หมายถึง  ภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิตสินค้า หรือผู้บริการ  ผู้นำเข้า  โดยจัดเก็บเฉพาะมูลค่าที่เพิ่มขึ้น  การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีขอบเขตกว้างขวาง และครอบคลุมทุกขั้นตอนใน การผลิตการจำหน่ายและให้บริการ  การผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการเหล่านั้น  ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ  โดยส่วนที่เก็บเพิ่มนั้นเรียกว่า  “มูลค่าเพิ่ม” ภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะทำการเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการต่างๆ ที่เป็นคนสุดท้าย รวมถึงการเก็บภาษีทุกขั้นตอนของการผลิตหรือการขายสินค้าหรือการให้บริการ จากนั้นผู้ประกอบการจะนำภาษีที่เก็บได้ส่งให้กับสรรพากรทุกเดือน     ฉะนั้น  ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าทั้งที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศหรือเป็นผู้ได้รับบริการคนสุดท้าย  ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้ายจะจ่ายภาษีซื้อ 7% ในตอนซื้อสินค้าและเรียกเก็บภาษีขาย 7% ในตอนขายสินค้า เมื่อสิ้นเดือนจะนำภาษีซื้อและภาษีขายมาหักลบกัน  ผลต่างหากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจะเป็น ลูกหนี้-สรรพากร  หรือ  ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ  จะเป็นเจ้าหนี้-สรรพากร

 

     

 วัตถุประสงค์ในการจดVat     

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Value-Added Tax เรียกสั้นๆ ว่า VAT เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการบริโภค โดยจัดเก็บเฉพาะ “มูลค่า” ส่วนที่ “เพิ่ม” ขึ้นใแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการทำให้ภาระภาษีนั้นจะตกไปยังผู้บริโภค โดยคิดในอัตรา 7% ของราคาสินค้าหรือบริการ ปกติแล้ว หากธุรกิจที่ทำไม่ได้เข้าข่ายกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายแล้วล่ะก็เมื่อกิจการมีรายรับจากการขายสินค้าและบริการตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ต้องทำการจด VAT   แต่เจ้าของกิจการหลายคนกลับหาวิธีหลีกเลี่ยง เพราะมุมมองของคนทั่วไปมักมองว่า ภาษีคือค่าใช้จ่าย การจด VAT แปลว่าจะมีค่าใช้จ่ายทางภาษีเยอะขึ้น การมีรายจ่ายสูงขึ้นในมุมเจ้าของธุรกิจนั้นนำมา ซึ่งกำไรที่น้อยลง แต่อย่างที่กล่าวไปครับ  VAT คือภาษีที่ผู้บริโภคต้องจ่ายไม่ใช่ผู้ประกอบการ ดังนั้น  คำพูดที่ว่า การจด VAT ทำให้กิจการมีต้นทุนสูงขึ้นจึงเป็นเรื่องเข้าใจผิด

 

  สิ่งที่ควรรู้ก่อนจด Vat

 

 (1) เมื่อกิจการจด VAT แล้ว การขอยกเลิกจะทำได้ยาก พูดง่ายๆ คือจดแล้วจดเลย  ดังนั้นขอให้ประเมินรายได้ให้ดีก่อนว่ายอดขายของเรามีแนวโน้มว่าจะโตเกิน 1.8 ล้านบาทแน่นอนแล้วหรือไม่ 

(2) หากคู่ค้าของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นบริษัทที่ไม่จด VAT เท่ากับว่าเราจะมีภาษีซื้อมาหักน้อยลง 

(3) หลังจากจด VAT จะมีความรับผิดชอบในการจัดทำรายงานภาษีซื้อ และภาษีขาย ภ.พ. 30  โดยต้องส่ง VAT ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากส่งช้าจะมีเบี้ยปรับ 
    
(4) ก่อนจด VAT ควรทำความเข้าใจเรื่องการออกใบกำกับภาษี เพราะนั่นคือสิ่งที่
 กิจการต้องทำเพิ่มเติมขึ้นมา หลังจากจด VAT

 

 

เอกสารที่ต้องใช้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20)

 

1) สำเนาที่ตั้งบริษัท

 

ส่วนนี้ให้ดูให้ละเอียดนะครับ ผมขอยกเป็น 2 กรณีคือ การเช่าพื้นที่จากผู้อื่น กับ การใช้พื้นที่ของหุ้นส่วนในการจัดตั้งโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายการเช่าพื้นที่ผู้อื่น – ให้เตรียมสำเนาสัญญาการเช่า, สำเนาทะเบียนบ้านของสำนักงาน, สำเนาบัตรประชาชนผู้ให้เช่า, สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้เช่า  การใช้พื้นที่ของหุ้นส่วนในการจัดตั้งโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย – กรณีนี้จะง่ายหน่อยเพียงแค่ทำหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่,สำเนาทะเบียนบ้านของสำนักงาน, สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของพื้นที่

 

2)แผนที่ตั้งบริษัท – ส่วนนี้วาดให้พอเข้าใจง่าย ถ้าจะให้ดีเป็นภาพกราฟฟิก

 

3 ) ภาพถ่ายสำนักงาน – ภาพถ่ายหน้าออฟฟิศ ที่มีชื่อบริษัท และ บ้านเลขที่ อยู่ข้างหน้าอย่างชัดเจน

 

4)  หนังสือมอบอำนาจ

 

5) สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ของ กรรมการทุกคน

 

6)  สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทพร้อมวัตถุประสงค์

 

ขั้นตอนการจดทะเบียน
1. จองชื่อ
2.รับข้อมูลจดทะเบียนบริษัท
3.ส่งชุดเอกสารกรรการเช็นต์พร้อมประทับตรา    
4.จดทะเบียนบริษัท
5.ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
6.ส่งชุดเอกสารตั้งบริษัทให้ลูกค้า
7.จดภาษีมูลค่าเพิ่ม

เอกสารที่จะต้องจัดเตรียม
1.สำเนาบัตรประชาชน
2.สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งบริษัท
3.สำเนาบัตรประชาชนพร้อมทะเบียนบ้านหุ้นส่วน 3คน
4.แผนที่บริษัท

 


  • เนื่องจากการติดต่อกับทางราชการ มักมีระเบียบขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนเราเสนองานบริการ ด้านจดทะเบียน ทั่วกรุงเทพ และปริมลฑล สามารถจัดส่งพนักงานรับส่งเอกสารและจดทะเบียนให้ท่านได้อย่างร...

  • money-2696229_960_720.jpg
    เนื่องจากการติดต่อกับทางราชการ มักมีระเบียบขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนเราเสนองานบริการ ด้านจดทะเบียน ทั่วกรุงเทพ และปริมลฑล สามารถจัดส่งพนักงานรับส่งเอกสารและจดทะเบียน ให้ท่านได้อย่าง...
Visitors: 36,781